วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Information Technology

Information Technology

      เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยี สารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมี ประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีก อย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบ สารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไป ในอนาคต

UMPC

UMPC

UMPC ย่อมาจาก Ultra Mobile Personal Computer

เป็นสิ้นค้าใหม่ ภายใต้กลุ่มสิ้นค้า Mobile Devices

ฟังชั่นการทำงานมากกว่า Pocket PC แต่ขนาดเล็กกว่า NoteBook ทั่วไป

ภาพรวมของ UMPC คือ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ดี ๆนั่นเอง เพราะสามารถใช้ฟังก์ชั่น

การทำงานต่าง ๆได้เที่ยบเท่า โน๊ตบุ๊ค เกือบ 100 % จะต่างก็แค่ขนาดและน้ำหนัก

อย่างไร...ถึงเรียกว่า UMPC
- ต้องพกพาสะดวก เป็นของใช้ส่วนตัว ที่พกติดตัวได้ตลอดเวลา (Hold in your hand computer)
- จะต้องมีหน้าจอเล็กว่า 10 นิ้ว
- มีน้ำหนักที่น้อยกว่า 1 กิโลกัรม
- มีระบบสัมผัสหน้าจอ เพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น กับการใช้งานในรูปแบบของคอมพิวเตอร์มือถือ
- สามารถใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นได้เหมือนโน๊ตบุ๊ค และสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ใช้งานอ๊อฟฟิศ
  เล่นเกมส์ เบื้องต้น ดูหนัง ฟังเพลง เก็บไฟล์ภาพ ได้ทุกที่ทุกเวลา (WiFi + Bluetooth + 3G)

Online Banking

บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (Online Banking)

Online Banking เป็นบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษใดๆ ในการใช้บริการ Online Banking นี้ ยกเว้นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมของบริการ / ผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่ตามปกติเท่านั้น  โดยผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลากหลายประเภท เช่น การโอนเงินทั้งในและต่างประเทศ ชำระสินค้าและบริการ เปิดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น  บริการ Online Banking ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่ว่าผู้ใช้บริการจะอยู่ภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม


Podcast

         คำว่า Podcast มาจากคำ 2 คำ คือ POD (Personal of Demand) หรือก็คือ ความต้องการส่วนตัว ผสมกับคำว่า Broadcasting ที่มีความหมายตรงๆตัวคือการกระจายเสียง เมื่อนำ มารวมกันจึงกลายเป็น Podcasting หรือ อีกชื่อ คือ Podcast เป็นการกระจายเสียงด้วยตัวของเราเอง เป็นได้ทั้งรูปแบบ เสียงอย่างเดียว หรือ วีดีโอคลิป สามารถ Upload ขึ้นทาง Website  แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า Podcast เป็นของทาง Apple คิดขึ้นมา ความจริงมันเกิดความบังเอิญที่ไปเหมือนกัน คนส่วนมากชอบคิดว่าเป็น iPod + Broadcasting 

          รูปแบบการจัดข้อมูล ของ Podcast แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนข้อมูลในรูปสื่อมัลติมีเดีย เช่น วีดีโอ เสียง เป็นต้น อีกรูปแบบ คือ ไฟล์ข้อมูล XML ตัวนี้จะคอยตามการ Podcast ตลอดเวลา ถือว่าเป็นข้อดีเมื่อมีการ Update เนื้อหาและข้อมูลอะไรใหม่ๆหรือก็คือ รูปแบบ XML Feed นั้นเอง ปัจจุบันเราเห็นได้จากการกระจายเสียงของเหล่าวิทยุคลื่นดังๆหลายคลื่นที่นำหลักการ  Podcast มา ใช้กันช่วยให้สะดวกขึ้นและลดต้นทุนไปมากเหมือนกัน คนฟัง คนดู สามารถไปดูย้อนหลังได้ หรือ จะดู หรือฟัง ณ เวลานั้นเลยก็มีแล้ว แม้แต่ Webbord หรือ Blog บางแห่งใช้เช่นกัน เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารเข้าถึงผู้ติดตามได้ไว

Information system

ระบบสารสนเทศ (Information system)

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

            ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
           
            ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
              
            ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุป ได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

ระบบสารสนเทศสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายประเภท เช่น

ประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
 
1.     ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น  ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น  ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด  รายงานผลเบื้องต้น

2.     ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น  ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์ 

3.     ระบบงานสร้างความรู้  (Knowledge Work Systems - KWS)  เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน  หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา  ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น  ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์  ตัวแบบ  รูปแบบ เป็นต้น

4.     ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ

5.     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน  ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน  ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น  หลัก การของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง  ผู้ บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์

            6.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้าง    สารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ  สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์  
  
credit : blog.eduzones.com/dena/4892

Website

เว็บไซต์ Website

Web (ใยแมงมุม) และ Site(โครงข่าย) หรือเรียกว่า "โครงข่ายในแมงมุม" ซึ่งหมายถึง กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วย เว็บเอกสาร(Web Documents) และสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ เป็นต้น ซึ่งอาจเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) เชื่อมต่อถึงกัน
  • โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกที่เข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ
  • เว็บเพจ (Web Page) คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน

หลักในการออกแบบเว็บไซต์ (Web Design)

  • กำหนดเป้าหมาย (Target) ทำเว็บมาเพื่อจุดประสงค์อะไร เพื่อจะได้เตรียมข้อมูลและวางแผนเจาะจงและตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
  • เนื้อหาดีมีประโยชน์ (Useful) ควรมีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์และมีการปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความสนใจและกลับเข้ามาใช้บริการอีกในอนาคต
  • หาจุดเด่น (Highlights) เนื่อง จากเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเว็บไซต์ของคุณเน้นไปทางธุรกิจ คุณต้องหาจุดเด่นและความได้เปรียบให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน เพราะเว็บไซต์เปรียบเสมือนหน้าตาของธุรกิจของเรา
  • ความเรียบง่าย (Plainness) ควรออกแบบเรียบง่าย อ่านสบายตา ไม่รู้สึกสับสนกับข้อมูล ใช้งานง่าย (User Friendly)
  • มีความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) มีรูปแบบสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ได้เช่น สี ตัวอักษร รูปภาพ เป็นต้น
  • มีระบบเนวิเกชั่นที่ดี (Navigation) คือ ระบบนำทางในเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกไปใช้บริการเดินทางในจุดสนใจในเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก
  • ลดขนาดไฟล์รูปภาพ (Redure) เพื่อให้สามารถเปิดหน้าเพจอย่างรวดเร็ว ควรมีการลดขนาดไฟล์
  • ติดต่อได้สะดวก (Contact) โลโก้, ชื่อการค้า, เบอร์โทรศัพท์ รวมไปถึงข้อมูลที่ผู้ใช้ (Clients) สามารถติดต่อได้สะดวก เช่น แผนที่, อีเมลล์ เป็นต้น
  • หมั่นปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเคลื่อนไหว (Update) ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยในการติดอันดับ Top ของเว็บ Search Engine

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

World Wide Web

           World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox
           

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557


Computer Network คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน      ด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง      คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า          โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client/Terminal)  
     ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร   เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร          หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลกซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก          รวดเร็วแก่ผู้ใช้   ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ 
     รูปแบบของเน็ตเวิร์คแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. LAN (Local Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่จำกัด เช่นภายในตึกสำนักงาน หรือภายในโรงงาน ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน
2. MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกัน ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเชื่อมต่อกันในเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น
3.WAN (Wide Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศเป็นการใช้ หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่ เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ London การติดต่อสื่อสารกัน อาจจะใช้ตั้งแต่สายโทรศัพท์จนกระทั่งถึงดาวเทียมอาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้าน หรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

 Communication  N. การติดต่อสื่อสาร,การส่งต่อ,ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด,วิธีการติดต่อสื่อสาร.

 Communication Device  หมายถึง อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล.

output device   หมายถึง อุปกรณ์ส่งออกอุปกรณ์แสดงผลหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่อยู่ในหน่วย ความจำ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลการแสดงนั้นอาจแสดงผ่านทางอุปกรณ์ได้หลายชนิด เป็นต้นว่า จอภาพเครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก ดู input deviceเปรียบเทียบ
input device  หมายถึง อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูลและส่ง ข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้ จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อนถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมี หลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึกหน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้า เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึงแป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ
on line device  หมายถึง อุปกรณ์เชื่อมตรงหมายถึงอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวล ผลกลาง เช่นหน่วยขับแถบบันทึก (tape drive) หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) เครื่องพิมพ์ (printer) รวมไปถึงเครื่องปลายทาง (terminal) ฯลฯ ดูoff-line device กกเ เปรียบเทียบ

http://th.w3dictionary.org/index.php?q=Communication+Device

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Labtop

Labtop หมายถึง คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่มีขนาดเล็กจนวางบนตักได้ในขณะใช้ ปัจจุบัน นิยมเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนี้ว่า ขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) เพราะสามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้เหมือนสมุดบันทึก มีน้ำหนักน้อย และทำได้บางลงมาก
Provide [Vt]. จัดหาให้, ให้, เตรียมการ.

provide entertainment {ให้ความสนุกสนาน}{ให้ความครื้นเครง}

Cloud storage provide.






such as 
  
     -youTube
     -Fackbook
     -Gmail



http://www.oxforddictionaries.com/definition/english/provide
http://th.w3dictionary.org/index.php?q=provide

Data



ข้อมูล (Data)

 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าว สาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ  
กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
              
    
 ลักษณะข้อมูล
     1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
     2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ 



โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)


บิต (Bit)
คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น



ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character)
ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z
และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น



ฟิลด์ (Field)
ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์
เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น



เรคคอร์ด (Record)
ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด
เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด



ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล
ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด
เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น



ฐานข้อมูล (Database)
คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน
เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น



วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Storage and storage device

storage [N]. 


The retention of retrievable data on a computer or other electronic system. 

Ex. a storage capacity of two megabytes. (ตัวเก็บข้อมูล)



The action or method of storing something for future use.

Ex. The chair can be folded flat for easy storage. (การเก็บรักษา,ที่เก็บ,ค่าเก็บรักษา)

cold storage ห้องเย็น (สำหรับเก็บอาหารหรืออย่างอื่น)



stockroom ห้องเก็บสินค้า





storage device == Hard disk, optical disc, microfilm, memory cards, flash drive.

Cloud storage การเก็บข้อมูลบนเว็บ

temporary storage หน่วยเก็บชั่วคราว







http://th.w3dictionary.org/index.php?q=storage
http://www.oxforddictionaries.com/

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Types of Computers


personal computers : general purpose computers. [input, processing, output, storage]
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล : คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์สำหรับใช้งานทั่วไป
               - stationary แบบตั้งอยู่กับที่
               - portable แบบพกพาได้
game consoles : mobile computing device designed for single or multiplayers video games.
คอนโซลเกมส์ : เครื่องคำนวณ(คอมพิวเตอร์)ขนาดพกพาที่ออกแบบมาสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ




servers : a system that controls access on a network with centrally storage.
เซอร์เวอร์ : ระบบที่ใช้สำหรับการควบคุมการทำงานของเครือข่ายที่มีหน่วยความจุกลาง




mainframes : a large, expensive and powerful computer than can handle thousands users.
เมนเฟรม : คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้จำนวนมากได้





supercomputers : a computer that is at the frontline of current processing capacity, particularly speed of calculation used to performing tasks involving intense numerical calculations.
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ : คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและความเร็วในการคำนวนสูงระดับแนวหน้า






embedded computers : a special-purpose computer that functions as a component in a larger product.
คอมพิวเตอร์ระบบฝังตัว : คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบพิเศษ ทำงานเฉพาะทาง และฝังตัวอยู่กับระบบที่ใหญ่กว่า





Computer Aided Manufacturing (CAM)

Computer Aided Manufacturing (CAM) แปลตามศัพท์หมายความว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ซึ่งจะใช้ซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถสร้างชิ้นงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตนี้ มีองค์ประกอบหลักๆ คือ
             1.
เครื่องจักรซีเอ็นซี(CNC:Computer Numerical Controlled) คือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับกัด ก้อนวัตถุดิบ(โลหะ, ไม้ ,พลาสติกสังเคราะห์) ให้ได้รูปร่าง ตามแบบชิ้นงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
             2.
ซอฟต์แวร์สำหรับงาน CAM  ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ซึ่งควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
รับข้อมูล 3 มิติจากซอฟต์แวร์ CAD ได้ในรูปแบบมาตรฐาน (IGES, STEP, STL)
เลือก Tool หรือ หัวกัดชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ กำหนด การกัดงานด้วยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การกัดหยาบ, กัดละเอียด
ทดสอบการกัดชิ้นงาน บนจอภาพเพื่อตรวจสอบก่อนการกัดงานจริง (ส่วนนี้ซอฟต์แวร์บางตัวอาจยังไม่มีให้ใช้งาน)
สร้าง G-code ซึ่งเป็นรหัสเพื่อบอกให้เครื่องจักรทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ได้ถูกต้อง ซึ่งซอฟต์แวร์ CAM นั้นจะต้องสร้าง G-code ให้มีรูปแบบตรงกับ รูปแบบที่เครื่องจักรรุ่นนั้น ๆ รู้จัก 




Application software

Application software คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างหนึ่ง


ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)
จะมีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมด้านการคำนวณราคาค่าน้ำของแต่ละบ้าน จะมีประโยชน์กับงานด้านการประปา หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงิน ก็จะมีประโยชน์กับองค์กรเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านส่วนมากจะไม่มีการจำหน่ายอยู่ทั่วไป องค์กรที่ต้องการใช้งานมักจะต้องพัฒนาด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาให้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีบริษัทซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้านมาวางจำหน่ายก็มัก จะมีราคาสูง รวมทั้งมีข้อเสนอในการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรต่าง ๆ ด้วย
2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software)
จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้เป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้

ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet)
ธุรกิจในสมัยก่อนนั้นการทำงบประมาณ หรือการวางแผนต่าง ๆ ต้องใช้กระดาษบัญชีและเครื่องคิดเลขเท่านั้น สำหรับสมัยนี้ด้วยซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อหรือชื่อของข้อมูล และตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ เข้าในคอมพิวเตอร์ โดยที่ในคอมพิวเตอร์จะมีตารางที่เปรียบเสมือนกระดาษบัญชีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรที่ผู้ใช้ทำการกำหนด โดยที่สูตรเหล่านั้นจะไม่ปรากฏในช่องของข้อมูลเลย ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ใช้เปลี่ยนตัวเลขหรือข้อมูลใด ๆ ก็ตาม จะเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกันในทันที ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ไม่เฉพาะแต่ในทางบัญชีเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ บริหารการเงิน และอื่น ๆ อีกมาก
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing)
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์เอกสารรวมอยู่ด้วย ซึ่งโปรแกรมนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับสร้าง แก้ไข ตรวจสอบ พิมพ์ และจัดเก็บข้อความต่าง ๆ หนังสือที่จำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็เริ่มต้นจากการพิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์ที่ประมวลคำ
ซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
ในสมัยก่อนการจัดทำหนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่าง ๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายหลายขั้นตอนซึ่งรวมเรียกว่าการเรียงพิมพ์ โดยที่จะต้องมีผู้ตัดต่อรูปภาพที่ต้องการ วาดกรอบของภาพหรือกรอบหัวเรื่อง และเขียนข้อความ และนำข้อความ ภาพ และกรอบมาประกอบกันตามแบบที่ออกแบบไว้ การทำงานที่ยุ่งยากเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เอกสารเหล่านั้นมีราคาแพง แต่ในปัจจุบันนี้ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ เท่านั้น ก็สามารถที่จะออกแบบงานหรือเอกสารให้เป็นที่น่าสนใจได้ โดยซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะจะมีความสามารถด้านการจัดการเอกสาร ความสามารถด้านการเรียงพิมพ์ รวมทั้งการจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยอาจประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง รายงาน ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น นิยมใช้ในการเรียนการสอน หรือการประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลให้การบรรยายนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น
ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ การใช้งานในระดับเบื้องต้นอาจนำไปใช้ประกอบการสร้างเอกสาร หรือการนำเสนอข้อมูล ส่วนการใช้ในระดับสูงอาจใช้สำหรับการตกแต่งภาพหรือรูปถ่าย หรือใช้สำหรับงานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
โปรแกรมฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล เช่น มีเครื่องมือสำหรับการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ หรือสามารถเรียกแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงบนจอภาพโดยกำหนดเงื่อนไขให้เลือก ข้อมูลมาแสดงเพียงบางส่วน เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Software)
ถ้าผู้ใช้ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเทอร์มินัล (terminal) ที่ สามารถติดต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลายคนได้โดยใช้สาย โทรศัพท์ในการโทรติดต่อ และเมื่อติดต่อได้แล้วก็จะสามารถใช้งานระบบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องนั้นได้ เสมือนกับนั่งใช้เครื่องอยู่ข้าง ๆ เครื่องที่เราติดต่อเข้าไป การใช้งานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น ร่วมคุยกับกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนจดหมายกับผู้อื่นในระบบหรือแม้กระทั่งจองตั๋วเครื่องบินและจอง โรงแรมผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software)
หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากแหล่งข้อมูลในที่ต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันนี้ความนิยมในการใช้การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เนต หรือเครือข่ายเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ช่วยให้สามารถเรียกค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้จากทั่วโลก ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น Archie , Gopher และ World Wide Web เป็นต้น


credit : www.dekdev.com/application-software-คืออะไร-2882012/

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Variety N.        หมายถึง ประเภท ชนิด ความหลากหลาย หรือลักษณะ
 ex.
       Variety is the spice of life. ความหลากหลาย ความเปลี่ยนแปลงทำให้ชีวิตน่าสนใจ